Longdo Dict คือ ดิกชั่นนารีออนไลน์ไทย-อังกฤษ และ อังกฤษ-ไทย สำหรับ App Store ของค่ายแอปเปิล โดยรวบรวมข้อมูลมาจากแหล่งข้อมูลหลากหลายทำให้การแปลความหมายค่อนข้างครอบคลุม พร้อมมีตัวอย่างประโยคประกอบด้วย นอกจากนั้นยังจัดเก็บข้อมูลศัพท์ที่เราเปิดใช้มาแล้ว ไว้ทบทวน หรือค้นหาดูได้ง่ายทีหลัง
เมื่อเปิดแอพตัวนี้ขึ้นมาใช้แล้ว จะเห็นส่วนของการค้นหาอยู่ด้านบน slot ถัดลงมาด้านล่างมีคำศัพท์แบบสุ่ม (Random Word) เป็นตัวเลือกเผื่อใครสนใจอยากทราบความหมายก็คลิกเข้าไปดูได้ ถัดลงไปอีกด้านล่างเป็นส่วนของประวัติการค้นหาศัพท์ (Search History) ทุกคำที่เราเคยค้นหาจะถูกบันทึกไว้ที่นี่ ศัพท์ทุกตัวที่เปิดขึ้นมาจะถูกจัดเก็บไว้ใน History สามารถคลิกเปิดขึ้นมาดู เพื่อทบทวน หรือตรวจสอบความจำอีกครั้งได้อย่างรวดเร็วเพราะถูกบันทึกไว้ในเครื่อง และไม่จำเป็นต้องต่อเน็ตก็ดูได้ เป็นการฝึกศัพท์ภาษาอังกฤษที่ดีอีกแบบ
เริ่มต้นใช้งานในช่องค้นหา ด้วยการพิมพ์ศัพท์ที่ต้องการทราบความหมาย จริงๆไม่ต้องพิมพ์เต็มคำก็ได้ แค่ไม่กี่ตัวอักษรก็จะมีศัพท์ตัวเลือกขึ้นมารอให้คลิกเข้าไปได้เลย เราสามารถเลื่อนดูและเลือกคลิกคำที่ต้องการจริงๆ ก็จะเข้าไปสู่หน้าคำแปลของศัพท์คำนั้น จะเห็นคำแปลที่แตกต่างหลากหลายจากดิกชันนารี่แหล่งต่างๆ ส่วนใหญ่ก็จะมีตัวอย่างประโยคให้ดูด้วยว่าใช้กันอย่างไร
เสร็จแล้วก็คลิกลูกศรด้านบนซ้ายมือเพื่อย้อนกลับไปค้นศัพท์ตัวใหม่ อาจสะดุดนิดหนึ่งตรงที่จะต้องคลิกเครื่องหมายปิดในช่องค้นหาก่อนจะพิมพ์ศัพท์คำใหม่ ไม่เช่นนั้นศัพท์ใหม่ที่พิมพ์จะต่อเนื่องจากศัพท์เดิม ทำให้เสียเวลามาลบทิ้งอีก
และเมื่อเสร็จสิ้นการค้นศัพท์ อยากไปทบทวนศัพท์ต่างๆ ที่เคยค้นหามาก่อนหน้า ก็ให้คลิกปุ่ม Done มุมซ้ายมือด้านบนก็จะกลับไปสู่หน้าแรก จะเห็นศัพท์ต่างๆ ของเราปรากฏอยู่ในช่อง Search History
Longdo Dict ค่อนข้างทรงประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับดิกส์อื่นๆ สำหรับผู้ใช้ที่เน้นเนื้อหาวิชาการมากคงเหมาะสมและครอบคลุมอย่างยิ่ง จริงๆ แล้วศัพท์ทั่วไปสามารถจะแปลความหมายจากพจนานุกรมในเครื่องได้เลยโดยไม่ต้องต่อเน็ต แต่ศัพท์ยากหลายคำก็จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเพื่อการค้นหาที่กว้างขึ้น หากไม่อยู่ในพื้นที่ใช้เน็ตก็ลำบากนิดหนึ่ง แต่โดยรวมแล้วนับว่าใช้ได้คุ้มค่าทีเดียวค่ะ
สำหรับตัวเองค่อนข้างถูกใจกับดิกซ์ตัวนี้มาก เพราะให้ศัพท์ที่ครอบคลุมและความหมายที่ตรงกับความต้องการจริงๆ แต่ท่านผู้อ่านจะเห็นด้วยหรือไม่อันนี้ก็ต้องลองใช้ดูด้วยตัวเองนะคะ
พูดชื่อ เมตามีเดีย อาจไม่ค่อยมีคนรู้จักนัก แต่หากพูดชื่อ ลองโด ก็น่าจะต้องมีร้องอ๋อกันบ้างเพราะ เมตามีเดีย เป็นเจ้าของแบรนด์ ลองโด ที่คนส่วนใหญ่จะรู้จักกันจากดิกชันนารีหรือพจนานุกรมออนไลน์เป็นหลัก ซึ่งจริงๆ แล้ว เมตามีเดีย มีผลิตภัณฑ์อื่นภายใต้แบรนด์ ลองโด มากกว่าแค่พจนานุกรม และกำลังมองหานักพัฒนา โปรแกรมเมอร์และตำแหน่งอื่นๆ เพิ่มเติมอยู่ด้วย
บริษัทเมตามีเดีย เทคโนโลยี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2005 โดย ดร.วุฒิชัย อัมพรอร่ามเวทย์ และ ดร.ภัทระ เกียรติเสวี จากอุดมการณ์และความคิดที่ตรงกัน ที่ต้องการสร้างซอฟต์แวร์ของคนไทยขึ้นมาใช้งานกันเอง เนื่องด้วยในยุคนั้นซอฟต์แวร์ที่คนไทยใช้งานกันส่วนใหญ่ล้วนเป็นของต่างประเทศทั้งสิ้น
ดร.ภัทระ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการทั่วไป (General Manager) ของ เมตามีเดีย เล่าว่าตัวเองกับ ดร.วุฒิชัย เคยรู้จักกันมาก่อนในวงการลินุกซ์ ทั้งสองคนเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Thai Linux Working Group (linux.thai.net) และมีผลงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านภาษาไทยใน Linux และร่วมพัฒนา Linux-TLE รุ่นแรกๆ กับ NECTEC ในช่วงปี 1997- 2000
ในช่วงแรกของการก่อตั้ง ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทคือ slotxo ลองโด Dict พจนานุกรมออนไลน์และ ลองโด Map บริการแผนที่ที่ให้บริการกับลูกค้าองค์กรเป็นหลัก ที่มาที่ไปของการพัฒนา ลองโด Map ก็เพราะในยุคนั้นโซลูชันและบริการด้านแผนที่ออนไลน์ในไทยยังไม่มี และ Google Maps เองก็ยังไม่มีแผนที่ในไทยด้วย ก่อนที่ปัจจุบันจะพัฒนาต่อยอดเป็นบริการและผลิตภัณฑ์ด้านแผนที่สำหรับองค์กรอย่างเต็มรูปแบบ
Longdo Map Solutions ให้บริการด้านแผนที่ครบวงจร ให้บริการทั้งแบบผ่านคลาวด์ ด้วยการเชื่อมต่อ API เข้ากับฐานข้อมูลแผนที่กับ เมตามีเดีย และแบบ on-premise ในรูปแบบของกล่องเซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่าลองโด Box ซึ่งมีข้อมูลและโซลูชันทุกอย่างเหมือนกับการเชื่อมต่อผ่าน API รวมถึงสามารถใช้เป็นช่องทางสำรอง กรณีที่การเชื่อมต่อผ่านคลาวด์มีปัญหา องค์กรก็ยังคงสามารถใช้งาน ลองโด Map ได้จากกล่อง ลองโด Box นี้
MM Search Engine เป็นเสิร์ชเอนจินที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง ลองโด Dict และ ลองโด Map รองรับการค้นหาคำ, ส่วนหนึ่งของคำ, หลายๆ ส่วนของคำในภาษาไทย ด้วยความรวดเร็ว
Longdo TrafPro โซลูชันประมวลผลข้อมูลด้านจราจร คำนวณข้อมูลสภาพจราจรแบบ real-time จากข้อมูล big data จากรถยนต์ที่วิ่งบนท้องถนน มากกว่า 10,000 คันต่อนาที
นอกจากทำซอฟต์แวร์และโซลูชันเองแล้ว เมตามีเดีย ยังรับจ้างพัฒนาซอฟต์แวร์จากลูกค้าภายนอกด้วย โดยส่วนใหญ่ลูกค้ามักจะเป็นองค์กรภาครัฐ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาให้ก็ล้วนมีเอนจินแผนที่จาก ลองโด Map เป็นแกนหลักทั้งสิ้น
ปัจจุบัน พนักงานของ Metamedia มีทั้งหมด 32 คน เป็นนักพัฒนาเสียส่วนใหญ่ถึง 70% นักพัฒนาของที่นี่จะไม่มีตำแหน่งเฉพาะอย่าง Front-End หรือ Back-End เพราะวัฒนธรรมการทำงานของนักพัฒนาที่ เมตามีเดีย คือทุกคนจะเวียนหน้าที่กัน หากเป็นงานที่ไม่มีความรู้ ก็จะมีการสอนให้ ด้วยความเชื่อที่ว่า สล็อต การจำกัดหน้าที่แต่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งอยากทำแต่ด้านนั้นอย่างเดียวจริงๆ
บทความต่อไปที่น่าสนใจ solo leveling